วันอาทิตย์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2556

คำอุทาน

คำอุทาน

 
   คำอุทาน  คือ  คำที่เปล่งออกมาเพื่อแสดงความรู้สึก และอารมณ์ของผู้พูด  โดยมากคำอุทานจะไม่มีความหมายตรงตามถ้อยคำ  แต่มุ่งเน้นอารมณ์และความรู้สึกเป็นสำคัญ
     
   

คำอุทานมี  ๒  ชนิด  คือ

                                ๑.  คำอุทานบอกอาการ                                      ๒.  คำอุทานเสริมบท
  ๑.  คำอุทานบอกอาการ            คือ    คำที่เปล่งเสียงเพื่อบอกอาการ และความรู้สึกของผู้พูด ซึ่งใช้เฉพาะในการพูดจา
                          เช่น               -  โอ๊ย !  เธอเหยียบเท้าฉันทำไม     (เจ็บปวด)
                                                -  พุทโธ่ !  เขาไม่น่าเสียชีวิตเลย     (สงสาร)
                                                -  เอ๊ะ !  ใครขโมยปากกาฉันไปอีกล่ะ           (สงสัย  แปลกใจ)
                                                -  คุณพระช่วย !  ลูกไปทำอะไรมา    (ตกใจ)
                                                -  ว้าว !  ชุดนี้ทำให้เธอสวยมาก ๆ เลย          (ตื่นเต้น)
                                                -  อ้าว !  มาหยิบของฉันไปดื้อ ๆ ได้อย่างไร     (ไม่พอใจ)
  ๒.  คำอุทานเสริมบท     คือ  คำอุทานที่ผู้พูดกล่าวคำเสริมเพิ่มเติมโดยไม่ตั้งใจให้มีความหมาย 
                                                   แต่เน้นให้เกิดความคล้องจอง  มักใช้ในคำประพันธ์เพื่อให้ข้อความสละสลวย
                      เช่น                   -  ลูกต้องหมั่นอ่านหนังสือหนังหาให้มากนะ
                                                -  หนูเดินระวัง ๆ หน่อยนะ  เดี๋ยวแข้งขาหักจะลำบาก
                                                -  กรวิทย์ชอบแสดงตัวเป็นเจ้าข้าวจ้าวของ น่าเบื่อจริง ๆ
                                                -  วัดวาอารามเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ เราควรเคารพสถานที่
                                                -  เวลาเดินข้ามถนนหนทางก็เหลียวซ้ายแลขวาก่อน
                                                -  อ้าดูอโศกนี้    สีไสววิไลตา

          ข้อควรจำ
          ๑.  การใช้คำอุทานบอกอาการมักเขียนไว้หน้าประโยค  และจะต้องใส่เครื่องหมายอัศเจรีย์ (!)
     หลังคำอุทานทุกคำ  ยกเว้นในคำประพันธ์ประเภทร้อยกรองไม่ต้องใส่เครื่องหมายอัศเจรีย์
          ๒.  คำอุทานเสริมบทจะวางอยู่ในตำแหน่งใดในประโยคก็ได้ และหลังคำนั้นไม่ต้องใส่
     เครื่องหมายอัศเจรีย์หลังคำ
  
                         

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น